![](http://www.gercekhayat.com/wp-content/uploads/2015/05/computer.jpg)
ความสำคัญของเทคโนโลยี
1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม
และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย
กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น
ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์
ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่
อิเล็อทรอนิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics ,
Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI
) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้พร้อมกัน
สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย
และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
บทบาทของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ( Information System : IS ) คือระบบเฉพาะเจาะจงชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นกลุ่มของส่วนประกอบพื้นฐานต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกันในการจัดเก็บ จัดการประมวลผล และเผยแพร่แสดงผลข้อมูลสารสนเทศ และสนับสนุนกลไกลของผลสะท้อนกลับ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยทั่วไประบบสารสนเทศ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ส่วนด้วยกันคือ
ส่วนที่นำเข้า (Inputs) ได้แก่การรวบรวมและการจัดเตรียมข้อมูลดิบ ส่วนที่นำเข้านี้ สามารถมีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การโทรเข้าเพื่อขอข้อมูล ในระบบสอบถามเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลที่ลูกค้ากรอกในแบบสอบถาม การให้บริการของร้านค้าฯลฯ ขึ้นอยู่กับส่วนแสดงผลที่ต้องการ ส่วนที่นำเข้านี้ อาจเป็นขบวนการที่ทำด้วยตัวเอง หรือเป็นแบบอัตโนมัติก็ได้ เช่นการอ่านข้อมูลรายชื่อสินค้า โดยใช้เครื่องอ่าน บาร์โค้ดของห้างสรรพสินค้า จัดเป็นส่วนที่นำเข้าแบบอัตโนมัติ
การประมวลผล ( Processing ) เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้อยู่ในรูปของ ส่วนแสดงผลที่มีประโยชน์ ตัวอย่างของการประมวลผลได้แก่ การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเลือกทางเลือก ในการปฏิบัติงานและการเก็บข้อมูล ไว้ใช้ในอนาคต โดยการประมวลผล สามารถทำได้ด้วยตนเอง หรือสามารถใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างเช่นระบบคิดเงินเดือนพนักงาน สามารถคิดได้จากการนำจำนวน ชั่วโมงการทำงานของพนักงาน คูณเข้ากับ อัตราค่าจ้าง เพื่อให้ได้ยอดเงินที่ต้องจ่าย ถ้าชั่วโมงการทำงานรายสัปดาห์มากกว่า 40 ชั่วโมง อาจมีการคิดเงินล่วงเวลาให้ โดยเพิ่มเข้าไป กับเงินที่ต้องจ่าย จะทำให้ได้เงินสุทธิ ที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน เป็นต้น
![](https://sites.google.com/site/krunoptechno/_/rsrc/1323333476402/khxmul-kab-sarsnthes/broker_bullet.gif)
![](https://sites.google.com/site/krunoptechno/_/rsrc/1323333476402/khxmul-kab-sarsnthes/broker_bullet.gif)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น