วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

ทำไมต้องแยกขยะ?


ทำไมต้องแยกขยะ???
                                          

                                   

มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นว่า ทำไมคนบ้านเขาถึงแยกขยะในบ้านกันอย่างเอาจริงเอาจัง บางเมืองแยกกันถึง 16 ประเภทเลย แถมยังมีคู่มือสำหรับนักแยกขยะอีกต่างหาก ทำไมเขาไม่โยนๆ ใส่ถังขยะหมดแบบบ้านเราล่ะง่ายกว่าตั้งเยอะ อันที่จริงการที่เขาแยกขยะกันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไม่ใช่เพื่อความเป็นระเบียบอย่างเดียว เพราะการแยกขยะในบ้านที่มีทั้งกระดาษ พลาสติก แก้วโลหะ เศษอาหาร หรือแม้แต่ขยะมีพิษ มีประโยชน์มากกว่าที่คิดเอาไว้เสียอีก นั่นคือ

1. ช่วยลดปริมาณขยะลง ::: เพราะเมื่อแยกวัสดุส่วนที่ยังมีประโยชน์ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ฯลฯ จะเหลือขยะจริงๆ เพื่อนำไปกำจัดน้อยลง
2. ประหยัดงบประมาณที่ใช้เพื่อการกำจัดขยะ ::: เมื่อขยะที่ต้องกำจัดลดลง เช่น กทม. ต้องเก็บขยะวันละเกือบ 9,000 ตัน ใช้งบประมาณถึง 2,000 ล้านบาทต่อปี ใช้เจ้าหน้าที่กว่า 10,000 คน ใช้รถเก็บขยะกว่า 2,000 คัน เรือเก็บขนขยะหลายสิบลำ ถังขยะนับหมื่นใบ ต้องจ้างฝังกลบขยะตันละกว่า 100 บาท และใช้เป็นเงินเดือนเจ้าหน้าที่อีกมหาศาล เมื่อใช้งบประมาณน้อยลง สามารถนำไปพัฒนาด้านอื่นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
3. ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร ::: ด้วยการนำวัสดุประเภท แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก ฯลฯ ไป Recycle หมุนวียนใช้ใหม่ ซึ่งบางอย่างสามารถขายได้ช่วยเพิ่มรายได้เล็กๆ น้อยๆ เข้ากระเป๋าด้วย
4. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดมลพิษต่อโลกน้อยลง ::: ช่วยลดการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงลง

เมื่อเห็นประโยชน์ของการแยกขยะแล้ว ก็เกิดคำถามตามมาอีกว่าต้องแยกขยะอย่างไร ซึ่งบอกเลยว่าง่ายมาก หลักๆ แล้วก็จะแยกขยะออก 4 ประเภทด้วยกัน คือ 
• ขยะเปียก เศษอาหารต่างๆ ใบไม้ ที่ย่อยสลายได้ ถ้าที่บ้านมีสวนอาจนำไปทำปุ๋ยแบบธรรมชาติได้
• ขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่มีพิษ แต่เปื้อนอาหาร เช่น โฟม ฟอล์ย ถุงพลาสติก ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
• ขยะรีไซเคิล ขยะยังใช้ได้ เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ
• ขยะมีพิษอันตราย เช่น ขวดยา หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ ยาฆ่าแมลง ฯลฯ สารพิษในขยะประเภทนี้ทำให้ป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้

เพื่อที่จะได้ไม่เบื่อกับการแยกขยะไปเสียก่อน อาจหาถังขยะเป็นสีๆ เช่น เขียว ฟ้า เหลือง และส้ม มาแยกขยะตามประเภท หรือเลือกถังขยะดีไซน์โดนๆ ที่เห็นแล้วอยากแยกขยะทุกวัน หรือใส่ไอเดีย DIY รียูสของในบ้านพวกถุงผ้าที่ได้รับแจกมาเยอะแยะ หรือตะกร้าหวายเก่ามาตกแต่งให้กลายเป็นถังขยะใบเดียวในโลกไว้ใช้ก็ได้
การแยกประเภทขยะก่อนทิ้งอาจจะทำให้เราต้องทำอะไรมากขึ้น แทนที่จะหยิบไปทิ้งที่ถังขยะเลย แต่อย่างน้อยก็เป็นการช่วยโลกของเราโดยไม่ได้ออกแรงมากมาย แค่ใส่ใจมากขึ้นอีกหน่อย และเริ่มทำได้ง่ายๆ ที่บ้านเรานี่เอง

ที่มา garbage.classification blog

การแยกขยะ

ขยะมูลฝอย (Solid Waste) หมายถึง เศษสิ่งเหลือใช้และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด หรือที่อื่นๆ ทั้งจากการผลิต การบริโภค การขับถ่าย การดำรงชีวิต และอื่นๆ 


ประเภทของขยะ

ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น
ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น
ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล
 


แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย

ชุมชนพักอาศัย เช่น บ้านเรือน และอาคารชุด
ย่านการค้าและบริการ เช่น ตลาด ร้านค้า ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า
สถานที่ราชการ ศาสนสถาน โรงเรียน
โรงพยาบาล
โรงงานอุตสาหกรรม 


ผลกระทบของขยะมูลฝอย


ปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะมูลฝอยสร้างความรำคาญให้แก่ชุมชนพักอาศัย
แหล่งน้ำเน่าเสียจากการที่ขยะมูลฝอยมีอินทรียสารเน่าเปื่อยปะปนอยู่ เป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์น้ำ รวมทั้งผลเสียในด้านการใช้แหล่งน้ำเพื่อการนันทนาการ
เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์นำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงวัน เป็นต้น
การกำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการจะสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้ที่อาศัยข้างเคียง รวมทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
ทำให้ชุมชนขาดความสะอาด สวยงามและเป็นระเบียบ และไม่น่าอยู่
การสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น ชุมชนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บขนและกำจัดขยะ มูลฝอย ค่าชดเชยความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ และค่ารักษาพยาบาลหากประชาชนได้รับโรคภัยไข้เจ็บจากพิษของขยะมูลฝอย

แนวทางจัดการขยะมูลฝอย


กำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น
(ดูวิธีกำจัดขยะ)
จัดการขยะ โดยอาศัยหลัก 5 R คือ
- Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง
- Reuse การนำมาใช้ซ้ำ เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น
- Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้
- Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ
- Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่อีกครั้ง
การแยกขยะ เพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดจริงๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น
- ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ได้อีก ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก
- ขยะเปียกสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ
- ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องฉีดสเปรย์ ต้องมีวิธีกำจัดที่ปลอดภัย
ส่งเสริมการผลิตที่สะอาดในภาคการผลิต โดยลดการใช้วัสดุ ลดพลังงาน และลดมลพิษ เพิ่มศักยภาพการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเอกชนมีส่วนรวมลงทุนและดำเนินการจัดการขยะ
ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการจัดการขยะอย่างถูกหลักวิชาการ
รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเข้าใจและยอมรับว่าเป็นภาระหน้าที่ของตนเอง ในการร่วมมือกันจัดการขยะมูลฝอย ที่เกิดขึ้นในชุมชน 


การคัดแยก เก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย

ในการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร จำเป็นต้องจัดให้มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ ตามแต่ลักษณะองค์ประกอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยจัดวางภาชนะให้เหมาะสม ตลอดจนวางระบบการเก็บรวบรวมมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย พร้อมทั้งพิจารณาควรจำเป็นของสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยและระบบขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดต่อไป

4.1 หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

4.1.1 ภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

1) ถังขยะ
เพื่อให้การจัดเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปนเปื้อนของขยะมูลฝอยที่มีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่จะต้องมีการตั้งจุดรวบรวมขยะมูลฝอย (Station) และให้มีการแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ โดยมีถุงบรรจุภายในถังเพื่อสะดวกและไม่ตกหล่น หรือแพร่กระจาย ดังนี้

สีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้

สีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ 

สีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ

สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร 

นอกจากนี้ยังมีถุงพลาสติกสำหรับรองรับขยะมูลฝอยในแต่ละถัง โดยมัดปากถุงสีเดียวกับถังที่รองรับมูลฝอยตามประเภทดังกล่าวข้างต้น
ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่จำกัดในการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยและมีจำนวนคนที่ค่อนข้างมากในบริเวณพื้นที่นั้น เช่น ศูนย์การประชุมสนามบิน ควรมีถังที่สามารถรองรับขยะมูลฝอยได้ทั้ง 4 ประเภทในถังเดียวกัน โดยแบ่งพื้นที่ของถังขยะมูลฝอยออกเป็น 4 ช่อง และตัวถังรองรับขยะมูลฝอยทำด้วยสแตนเลส มีฝาผิดแยกเป็น 4 สี ในแต่ละช่องตามประเภทของขยะมูลฝอยที่รองรับ ดังนี้
ฝาสีเขียว รองรับขยะมูลฝอยที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว
ฝาสีเหลือง รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถนำรีไซเคิล หรือขายได้
ฝาสีแดงรองรับขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ฝาสีฟ้ารองรับขยะมูลฝอย ที่ย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิลและมีสัญลักษณ์ข้างถัง
2) ถุงขยะ
สำหรับคัดแยกขยะมูลฝอยฝนครัวเรือนและจะต้องมีการคัดแยกรวบรวมใส่ถุงขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็วสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม
ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ
ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร

4.12. เกณฑ์มาตรฐานภาชนะรองรับขยะมูลฝอย

ควรมีสัดส่วนของถังขยะมูลฝอยจากพลาสติกที่ใช้แล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก
ไม่มีส่วนประกอบสารพิษ (toxic substances) หากจำเป็นควรใช้สารเติมแต่งในปริมาณที่น้อยและไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
มีความทนทาน แข็งแรงตามมาตรฐานสากล
มีขนาดพอเหมาะมีความจุเพียงพอต่อปริมาณขยะมูลฝอย สะดวกต่อการถ่ายเทขยะมูลฝอยและการทำความสะอาด
สามารถป้องกัน แมลงวัน หนู แมว สุนัข และสัตว์อื่น ๆ มิให้สัมผัสหรือคุ้ยเขี่ยขยะมูลฝอยได้

5. การลดและการใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย

5.1 การลดปริมาณขยะมูลฝอย

การลดปริมาณขยะมูลฝอยให้ได้ผลดีต้องเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไป Reused-Recycle ได้ง่าย รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลงด้วย ซึ่งการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น ครัวเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน บริษัท สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งปริมาณ และลักษณะสมบัติขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันด้วย ทั้งนี้การคัดแยกขยะมูลฝอยสามารถดำเนินการได้ 4 ทางเลือก คือ
ทางเลือกที่ 1 การคัดแยกขยะมูลฝอยทุกประเภทและทุกชนิด
ทางเลือกที่ 2 การคัดแยกขยะมูลฝอย 4 ประเภท (Four cans)
ทางเลือกที่ 3 การคัดแยกขยะสด ขยะแห้ง และขยะอันตราย (Three cans)
ทางเลือกที่ 4 การคัดแยกขยะสดและขยะแห้ง (Two cans)

ตารางเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือก

ทางเลือกที่
รูปแบบภาชนะรองรับ ขยะมูลฝอยข้อดีข้อเสียสรุปผลงาน
1แยกขยะมูลฝอยที่ใช้ได้ไหม่ ทุกประเภทและแยกขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดแต่ละวิธีได้แบ่งตามประเภทขยะมูลฝอยวัสดุที่นำกลับไปใช้ประโยชน์มีคุณภาพดีมาก-พาหนะเก็บขนต้องมีประสิทธิภาพสูงสามารถเก็บขนมูลฝอยที่แยกได้หมด
- เพิ่มจำนวนภาชนะรองรับขยะมูลฝอยมากขึ้น
ดีมาก
2แยกขยะมูลฝอย4 ประเภท (Four cans)แบ่งเป็นถังขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะย่อยสลายได้และขยะอันตรายวัสดุที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่มีคุณภาพดี-เพิ่มจำนวนภาชนะรองรับขยะมูลฝอยมากขึ้นดี
3แยกขยะสด ขยะแห้งและขยะอันตราย (Three cans)แบ่งเป็นถังขยะสด ขยะแห้ง และขยะอันตรายง่ายต่อการนำขยะสดไปใช้ประโยชน์และขยะอันตรายไปกำจัด- วัสดุที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ยังปะปนกันอยู่ไม่ได้แยกประเภทพอใช้
4แยกขยะสดและขยะแห้ง (Two cans)แบ่งเป็นถังขยะแห้งและขยะเปียกง่ายต่อการนำขยะเปียกใช้ประโยชน์- สับสนต่อนิยามคำว่าขยะเปียก ขยะแห้งทำให้ทิ้งไม่ถูกต้องกับถังรองรับต้องปรับปรุง

จากตารางข้างต้น จะเห็นว่า ทางเลือกที่ 1 สามารถรวบรวมวัสดุที่จะนำมาใช้ใหม่ได้ในปริมาณมาก และมีคุณภาพดีมาก แต่เนื่องจากประชาชนอาจจะยังไม่สะดวกต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยทุกประเภท ดังนั้น ในเบื้องต้นเพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยควรเริ่มที่ทางเลือกที่ 2 คือแบ่งการคัดแยกออกเป็น 4 กลุ่ม (ขยะรีไซเคิล ขยะย่อยสลายได้ ขยะทั่วไป และขยะอันตราย) ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่สามารถนำขยะมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่และสะดวกต่อการกำจัด อย่างไรก็ตามการจะปรับปรุงรูปแบบการจัดวางภาชนะรองรับขยะมูลฝอยหรือไม่นั้นจะต้องประเมินผลโครงการในระยะแรกก่อน

5.2 การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่มีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพและลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอยซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 5 แนวทางหลัก ๆ คือ
1.การนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Material Recovery) เป็นการนำมูลฝอยที่สามารถคัดแยกได้กลับมาใช่ใหม่ โดยจำเป็นต้องผ่านกระบวนการแปรรูปใหม่ (Recyele) หรือแปรรูป (Reuse) ก็ได้
2.การแปรรูปเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน (Energy Recovery) เป็นการนำขยะมูลฝอยที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนหรือเปลี่ยนเป็นรูปก๊าซชีวภาพมาเพื่อใช้ประโยชน์
3.การนำขยะมูลฝอยจำพวกเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานหรือการประกอบอาหารไปเลี้ยงสัตว์
4.การนำขยะมูลฝอยไปปรับสภาพให้มีประโยชน์ต่อการบำรุงรักษาดิน เช่น การนำขยะมูลฝอยสดหรือเศษอาหารมาหมักทำปุ๋ย
5.การนำขยะมูลฝอยปรับปรุงพื้นที่โดยนำขยะมูลฝอยมากำจัดโดยวิธีฝังกลบอย่างถูกหลักวิชาการ (Sanitary landfill) จะได้พื้นที่สำหรับใช้ปลูกพืช สร้างสวนสาธารณะ สนามกีฬา เป็นต้น

15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !

15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !

          ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติก ให้กลายเป็นของใช้สารพัดรูปแบบ เพิ่มคุณค่าให้ขวดพลาสติกเหลือใช้ แถมยังทำเองได้ง่าย ๆ ด้วย

          ขึ้นชื่อว่า รีไซเคิล ต่างก็จัดว่ามีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อคุณสามารถเปลี่ยนขยะไร้ค่าให้กลายเป็นของใช้ชิ้นใหม่ที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ก็ยิ่งคุ้มค่าเข้าไปใหญ่ เช่น ขวดพลาสติก ที่คนส่วนใหญ่มักจะนำไปทิ้งหลังจากใช้งานเสร็จ ทั้งที่จริง ๆ แล้วขวดพลาสติกกลับสามารถนำมาทำเป็นอะไรต่อมิอะไรได้มากมาย กระปุกดอทคอมจึงขอนำ วิธีรีไซเคิลขวดพลาสติก สุดครีเอท ที่ทำให้ขวดพลาสติกธรรมดา ๆ กลายเป็นของมีประโยชน์ได้เพียบมาฝากกัน


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก This is Colossal 

 1. สวนแนวตั้งเพิ่มสีสันให้ผนังบ้าน
          ต่อให้ไม่มีสนามหญ้าสำหรับจัดสวนก็สามารถปลูกต้นไม้ได้ถ้าต้องการ แค่เพียงคว้านผิวด้านข้างของขวดพลาสติกออกเกือบครึ่ง พร้อมกับเจาะรูเล็ก ๆ จำนวน 4 รูไว้ใกล้ ๆ กับปากขวดและก้นขวด แล้วนำไปร้อยเชือกเอาไว้สำหรับแขวนบนผนัง ก่อนจะปลูกต้นไม้ลงไป ทีนี้ผนังสีจืด ๆ ก็กลับดูสดใสขึ้นมาทันตาเห็นเลย


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Gadget King 

 2. ไม้กวาดพลาสติกสีแจ่ม

          ไม่ว่าใครก็สามารถทำไม้กวาดใช้เองได้ง่าย ๆ แค่ตัดท้ายขวดพลาสติกออกแล้วตัดตัวขวดให้เป็นริ้วเล็ก ๆ และทำตามขั้นตอนเดียวกันนี้กับขวดพลาสติกขวดอื่น แต่ขวดที่เหลือให้ตัดปากขวดออกด้วย ก่อนจะนำมาสวมทับกับขวดที่ได้อันแรก พอได้ปริมาณที่ต้องการแล้วก็นำไม้กลมสวมไว้ที่ปากขวด พร้อมกับตอกตะปูยึดให้เรียบร้อย


 15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Epbot 

 3. กระเช้าหรูสำหรับใส่เครื่องประดับ

          หากตอนนี้เครื่องประดับกระจัดกระจายเต็มไปห้องนอนไปหมด ก็แค่ตัดก้นขวดน้ำพลาสติกออกมาให้มีความลึกพอที่จะใส่เครื่องประดับได้ จากนั้นเจาะรูเล็ก ๆ ตรงกลางของก้นขวด พร้อมกับตกแต่งขอบ ๆ ด้วยตะไบให้เรียบร้อย เสร็จแล้วก็นำเหล็กสอดเข้าไปในรูของก้นขวด แล้วคั่นชั้นวางของแต่ละชั้นเอาไว้ด้วยนอต เพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นวางตกลงมาเท่านั้นเอง


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Make Handi Craft 

 4. กระถางปลูกต้นไม้ลายสัตว์น้อยน่ารัก

          โดยการปาดส่วนอื่น ๆ ของขวดพลาสติก นอกเหนือจากส่วนที่ต้องการออกไป โดยเว้นไว้ให้เป็นหูของสัตว์ตามต้องการ ทั้งกระต่าย หมี หรืออื่น ๆ จากนั้นทารองพื้นด้วยสีขาว ก่อนจะตกแต่งพื้นหลังกับใบหน้าของตัวการ์ตูนเพิ่มเติม เสร็จแล้วก็เจาะรูร้อยเชือกสำหรับนำกระถางปลูกต้นไม้สุดน่ารักอันนี้ไปแขวน


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Wikihow 

 5. แจกันใสสำหรับใส่ดอกไม้สุดหรู

          แจกันสุดหรูที่ทำมาจากวัสดุเพียงไม่กี่สิบบาท เริ่มจากปาดหัวขวดพลาสติกออก แล้วตัดแบ่งเป็นริ้วเล็ก ๆ ตามแนวตั้งจากส่วนที่ปาดออกไปจนถึงประมาณกึ่งกลางขวด เสร็จแล้วก็พับพลาสติกลงมาในแนวเฉียงทีละเส้นไปจนครบ จากนั้นเติมน้ำประมาณ 3/4 ของแจกัน ก่อนนำดอกไม้มาจัดเท่านั้นเอง


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพ Recyclart 

 6. กล่องเก็บเครื่องเขียน เยอะแค่ไหนก็เอาอยู่


          หากมีเครื่องเขียนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ของเก่าก็ยังไม่ทิ้ง และตอนนี้กล่องใส่ดินสอเดิมก็เก็บไม่พอแล้ว ก็นำไปใส่ขวดพลาสติกแบบแกลลอนเสียเลย โดยปาดเฉพาะขวดพลาสติกด้านล่างออกครึ่งหนึ่งตามแนวนอน เท่านี้ก็ได้กล่องใส่ดินสอที่ทั้งสวยและเก๋ ในราคาประหยัดแล้ว

15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Dornob 

 7. หลอดไฟพลังงานแสงอาทิตย์แจ่มสุด ๆ


          สำหรับคนที่หาวิธีประหยัดค่าไฟฟ้าอยู่ละก็ วิธีก็น่าจะช่วยลดภาระได้มากทีเดียว เพราะแค่เติมน้ำใส่ขวดน้ำพลาสติกให้เต็ม จากนั้นนำไปเสียบไว้กับหลังคา เท่านี้ก็จะมีหลอดไฟให้แสงสว่าง ๆ เอาไว้ใช้งานในตอนกลางวันแล้ว


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Boredpanda 

 8. สตูลนุ่มนิ่มน่านั่ง

          เริ่มจากนำขวดพลาสติกมามัดรวมกันให้เป็นรูปวงกลม เสร็จแล้วก็ปิดหัวปิดท้ายด้วยกระดาษแข็งรูปวงกลม พร้อมกับหุ้มทั้งหมดเอาไว้ด้วยกันโดยให้แผ่นพลาสติก จากนั้นใช้โฟมปิดด้านข้างกับด้านบน ตกแต่งด้วยผ้าสวย ๆ อีกชั้น ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Reciclagem 

 9. ม่านดอกไม้ใสโปร่งแสง


          ม่านสวย ๆ ที่ใคร ๆ ก็มีเป็นของตัวเองได้ แค่ตัดก้นขวดพลาสติกใสออกมา แล้วนำมาร้อยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นผืนผ้าม่านใหญ่ ๆ ตามขนาดที่ต้องการ เสร็จแล้วก็นำไปตกแต่งไว้ที่หน้าต่างเท่านั้นเอง


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Interesting Innovativepics 

 10. อาร์ตเวิร์กสร้างจินตนาการให้เป็นจริง

          ขวดน้ำพลาสติกก็สามารถสร้างอาร์ตเวิร์กสวย ๆ เอาไว้ตกแต่งตามมุมต่าง ๆ ของบ้านได้ด้วย และคุณแทบไม่ต้องทำอะไรกับขวดพลาสติกเลย เพราะแค่เอาก้นขวดไปจุ่มสี แล้วนำกดลงในกระดาษ เท่านี้ก็จะได้รูปดอกซากุระสวย ๆ มาครองแล้ว


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Wonderful Engineering 

 11. กระปุกออมสินช่วยสร้างอนาคต 

          กระปุกออมสินทั่วไปอาจต้องใช้แล้วทุบทิ้ง เพื่อนำเงินเก็บออกมา แต่สำหรับกระปุกออมสินหมูน้อยสีสันสดใสตัวนี้แทบไม่ต้องใช้เงินแลกมาเลยสักบาท อีกทั้งยังสามารถนำเงินออกมา เพื่อเอาไปฝากธนาคารต่อได้อย่างง่ายดายอีกด้วย แค่ตัดช่วงกลางของขวดน้ำพลาสติกออก แล้วนำส่วนหัวกับส่วนท้ายมาต่อกัน จากนั้นก็ตกแต่งให้ดูเป็นหมูเท่านั้นเอง


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Tatertots and Jello 

 12. ดอกไม้ปลอมเพิ่มสีสันให้บ้าน

          ถ้าไม่มีเวลาปลูกและดูแลต้นไม้ แต่อยากให้บ้านมีสีสันของดอกไม้เข้ามาเพิ่มความสดใสบ้าง ก็แค่จับขวดน้ำพลาสติกขึ้นมาก แล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ขนาดต่าง ๆ คละเคล้ากันไป เสร็จแล้วก็นำดอกไม้แต่ละชิ้นมาติดซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แขวนไว้ตามจุดต่าง ๆ เท่านั้นเอง


 15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Shine Kids Crafts 

 13. แก้วใส่ช้อน-ส้อม ช่วยจัดครัวให้เป็นระเบียบ

          เริ่มจากใช้ปากกาเมจิกวาดรูปร่างแก้วที่ต้องการลงบนขวดพลาสติก ถ้าอยากได้แบบแขวนก็อย่าลืมวาดหูหิ้วและรูสำหรับนำไปแขวนบนผนังด้วย เสร็จแล้วก็ใช้มีดกรีดไปตามเส้นที่วาดเอาไว้ พร้อมกับเจาะรูให้เรียบร้อย แล้วจึงค่อยนำช้อน-ส้อมมาใส่ลงไป แล้วแขวนไว้ในครัว


15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก Useful DIY 

 14. หลอดพลาสติกเก็บริบบิ้น ใช้ง่าย เก็บง่าย

          เริ่มจากตัดหัวขวดพลาสติกออก พร้อมกับกรีดข้างขวดให้เป็นช่องว่างในทางยาว ความกว้างประมาณ 1 นิ้ว ตลอดทั้งแนว ทำตามขั้นตอนดังกล่าวกับขวดพลาสติกอีก 1 ใบ แล้วนำริบบิ้นใส่ลงขวด โดยให้ปลายริบบิ้นอยู่ตรงกับช่องว่างจะได้ดึงใช้ได้สะดวก ๆ เสร็จแล้วก็ใช้ยางมัดขวดพลาสติกทั้ง 2 ใบเอาไว้ด้วยกัน เท่านี้ก็ได้หลอดพลาสติกเก็บริบบิ้นมาใช้แล้ว


 15 ไอเดียรีไซเคิลขวดพลาสติกแบบเทพ ๆ !
ภาพจาก 1001 Gardens 

 15. สวนขวดแก้วแสนเก๋


          อยากมีสวนขวดแก้วสวย ๆ แต่ไม่รู้จะหากระถางได้จากที่ไหน ก็ปลูกต้นไม้ใส่กระถางตามปกตินั่นแหละ เสร็จแล้วก็ตัดหัวขวดน้ำพลาสติกที่มีขนาดพอดีกับความกว้างของกระถาง จากนั้นนำไปครอบต้นไม้ เท่านี้ก็ได้ขวดสวนแก้วอย่างที่ต้องการแล้ว แต่ก่อนที่จะนำขวดพลาสติกไปครอบก็ควรมีพื้นที่เหลือให้ต้นไม้สามารถเจริญเติบโตได้ด้วยนะ


          แม้ประโยชน์จริง ๆ ของขวดพลาสติกจะมีไว้สำหรับใส่น้ำ แค่หลังจากที่น้ำในขวดหมดแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าขวดจะหมดประโยชน์เสมอไป เพราะยังสามารถนำมาทำอะไรต่อมิอะไรได้อีกมากมาย อย่างน้อย ๆ ก็ของใช้เหล่านี้ไงจ๊ะ

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางขยะ

สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางขยะ


สาเหตุของมลพิษทางขยะ
ขยะเป็นปัญหาสําคัญของหลาย ๆ ท้องถิ่นเกือบทั่วโลก ขยะส่วนใหญ่มักจะถูกทิ้งลงในดิน ขยะบางชนิดสลายตัวให้สารประกอบอินทรีย์และสารประกอบอนินทรีย์แต่ขยะบางชนิดสลายตัวยากเช่น หนัง พลาสติก โลหะ ฯลฯ ขยะประเภทนี้ถ้าทําลายโดยการเผาจะได้สารประกอบ ประเภทเกลือเช่น เกลือไนเตรตสะสมอยู่ในดินเป็นจํานวนมากขยะที่ได้เกิดกระบวนการ ผลิตทางอุตสาหกรรม โดยเฉพาะขยะจากเทคโนโลยีอุตสาหกรรมกําลังเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว มีความเป็นพิษสูงและย่อยสลายยากเช่น ขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มี โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เมื่อทิ้งลงดินทําให้ดินบริเวณนั้นมีโลหะหนัก สะสมอยู่มาก สําหรับในประเทศไทยเท่าที่มีรายงานพบว่า มีการเสื่อมคุณภาพ ของดินจากตะกั่วเนื่องจากโรงงานถลุงตะกั่วจากซากแบตเตอรี่เก่าที่จังหวัดสมุทรปราการ นําเอากากตะกั่วที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาถมทําถนน ทําให้ดินบริเวณนั้นเกิดสภาพเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อพืชและ ผู้บริโภคนอกจากนี้ประเทศไทยยังประสบปัญหาขยะอุตสาหกรรมที่นําเข้ามาจากตางประเทศ ในรูปของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่อุตสาหกรรม เช่น ยางรถยนต์เก่า แบตเตอรี่เก่า ถุงมือยางใช้แล้ว ถูกนําเข้ามาทิ้งในประเทศไทยอีกเป็นจํานวนมากมาย

ผลกระทบจากมลพิษทางขยะ
1. อากาศเสีย เกิดจากการเผาขยะกลางแจ้งก่อให้เกิดควันและสารพิษทางอากาศ ทําให้ คุณภาพอากาศเสื่อมโทรม
2.น้ำเสีย เกิดจากการกองขยะบนพื้น เมื่อฝนตกลงมาบนกองขยะ จะเกิดน้ำเสียมีความ สกปรกมากไหลลงสู่แม่น้ำ
3. แหล่งพาหะนําโรค เกิดจากการกองขยะบนพื้น ทําให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและ แมลงวัน เป็นต้น ซึ่งเป็นพาหะนําโรคติดต่อ ทําให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของ ประชาชน
4. เหตุรําคาญและความไม่น่าดู เกิดจากการเก็บขนขยะไม่หมด รวมทั้งการกองขยะบนพื้น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนประชาชนและเกิดภาพไม่สวยงาม ไม่เป็นสุนทรียภาพ นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมข้างต้นแล้ว ขยะยังเป็นตัวการเป็นตัวการสําคัญสําหรับปัญหาการ จัดการขยะของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องเพิ่มปริมาณบุคลากร อุปกรณ์การจัดการขยะรวมทั้ง การให้ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีแก่เจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ

มาตรฐานของวิดีโอแบบต่าง ๆ

มาตรฐานของวิดีโอแบบต่าง ๆ
มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 4  รูปแบบ  คือ   VCD ,  SVCD    DVD และ BD  ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้ 
VCD   ( Video  Compact  Disc )
VCD  เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล   ความจุของแผ่น  VCD  โดยปกติจะอยู่ที่  74/80  นาทีหรือประมาณ  650/700  เมกกะไบต์   โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 1  มีความละเอียดของภาพอยู่ที่  352 x 288  พิกเซลในระบบ  PAL  และ  352 x 240  พิกเซลในระบบ  NTSC   คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป  VHS  ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์    และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD  ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น  CD-R  ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว   และแผ่น  CD-RW  ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้   แต่แผ่น  CD-RW  มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น  VCD  หลายๆ รุ่น
SVCD  ( Super  Video  Compact  Disc )SVCD   เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ  VCD  แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า   โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 2  จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ  PAL  และ  480 x 480  พิกเซลในระบบ NTSC   ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น  VCD  หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้   โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น  DVD หรือ  VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก  CD – ROM  จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
DVD  ( Digital  Versatile  Disc )DVD  เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ  VCD  หลายเท่าตัว  โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่  720 x 480   พิกเซลในระบบ  PAL  และ  720 x 576  พิกเซลในระบบ  NTSC   โดยมาตรฐานของแผ่น  DVD  ก็มีหลายประเภท  เช่น  DVD + R/RW ,  DVD – R/RW ,  DVD + RDL  และ  DVD + RAM  ซึ่งความจุของแผ่น  DVD  ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น  โดยมีตั้งแต่  4.7   กิกะไบต์ไปจนถึง  17  กิกะไบต์   ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย    ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท  DVD  คงจะเข้ามาแทนที่ VCD  ได้ในไม่ช้า
BD ( Blu-ray Disc )มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
อ้างอิงhttp://www.guycomputer.com/mean/picturefile.htm 
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/graphic/type.html 
http://www.ceted.org/cet_media/detail.php?mode=Knowledge&pid=185 
http://forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t814-1100.html


วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

เทคนิคการตั้งคำถาม

เทคนิคการตั้งคำถาม

เทคนิคการตั้งคำถาม
          การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
         การถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ กระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย



ระดับของการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามมี 2 ระดับ คือ คำถามระดับพื้นฐาน และคำถามระดับสูง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

        1) คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ในการตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ คำถามในระดับนี้เป็นการประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนเรียน วินิจฉัยจุดอ่อน – จุดแข็ง และสรุปเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว คำถามระดับพื้นฐานได้แก่

         1.1) คำถามให้สังเกต เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนคิดตอบจากการสังเกต เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสืบค้นหาคำตอบ คือ ใช้ตาดู มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และหูฟังเสียง ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • เมื่อนักเรียนฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร 
  • ภาพนี้มีลักษณะอย่างไร 
  • สารเคมีใน 2 บีกเกอร์ ต่างกันอย่างไร 
  • พื้นผิวของวัตถุเป็นอย่างไร 
         1.2) คำถามทบทวนความจำ เป็นคำถามที่ใช้ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อใช้เชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ก่อนเริ่มบทเรียน ตัวอย่างคำถามเช่น 
  • วันวิสาขบูชาตรงกับวันใด 
  • ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 
  • ใครเป็นผู้แต่งเรื่องอิเหนา 
  • เมื่อเกิดอาการแพ้ยาควรโทรศัพท์ไปที่เบอร์ใด 

        1.3) คำถามที่ให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ เป็นการถามความเข้าใจ โดยการให้บอกความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • คำว่าสิทธิมนุษยชนหมายความว่าอย่างไร 
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร 
  • สถิติ (Statistics) หมายความว่าอย่างไร 
  • บอกความหมายของ Passive Voice 

       1.4) คำถามบ่งชี้หรือระบุ เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนบ่งชี้หรือระบุคำตอบจากคำถามให้ถูกต้อง ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • ประโยคที่ปรากฏบนกระดานประโยคใดบ้างที่เป็น Past Simple Tense 
  • คำใดต่อไปนี้เป็นคำควบกล้ำไม่แท้ 
  • ระบุชื่อสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง 
  • ประเทศใดบ้างที่เป็นสมาชิก APEC 

2) คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ผู้เรียนตอบต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ โดยอาจใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานในการคิดและตอบคำถาม ตัวอย่างคำถามระดับสูงได้แก่

        2.1) คำถามให้อธิบาย เป็นการถามโดยให้ผู้เรียนตีความหมาย ขยายความ โดยการให้อธิบายแนวคิดของข้อมูลต่าง ๆ ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • เพราะเหตุใดใบไม้จึงมีสีเขียว 
  • นักเรียนควรมีบทบาทหน้าที่ในโรงเรียนอย่างไร 
  • ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตนอย่างไร 
  • นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะทำให้ร่างกายแข็งแรง 

        2.2) คำถามให้เปรียบเทียบ เป็นการตั้งคำถามให้ผู้เรียนสามารถจำแนกความเหมือน – ความแตกต่างของข้อมูลได้ ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • พืชใบเลี้ยงคู่ต่างจากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอย่างไร 
  • จงเปรียบเทียบวิถีชีวิตของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย 
  • DNA กับ RNA แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร 
  • สังคมเมืองกับสังคมชนบทเหมือนและต่างกันอย่างไร 

        2.3) คำถามให้วิเคราะห์ เป็นคำถามให้ผู้เรียนวิเคราะห์ แยกแยะปัญหา จัดหมวดหมู่ วิจารณ์แนวคิด หรือบอกความสัมพันธ์และเหตุผล ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน 
  • วัฒนธรรมแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 
  • สาเหตุใดที่ทำให้นางวันทองถูกประหารชีวิต 
  • การติดยาเสพติดของเยาวชนเกิดจากสาเหตุใด 

       2.4) คำถามให้ยกตัวอย่าง เป็นการถามให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการคิด นำมายกตัวอย่าง ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • ร่างกายขับของเสียออกจากส่วนใดบ้าง 
  • ยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบโปรเจกไตล์ 
  • หินอัคนีสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง 
  • อาหารคาวหวานในพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานได้แก่อะไรบ้าง 

      2.5) คำถามให้สรุป เป็นการใช้คำถามเมื่อจบบทเรียน เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้รับความรู้หรือมีความก้าวหน้าในการเรียนมากน้อยเพียงใด และเป็นการช่วยเน้นย้ำความรู้ที่ได้เรียนไปแล้ว ทำให้สามารถจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • จงสรุปเหตุผลที่ทำให้พระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวง 
  • เมื่อนักเรียนอ่านบทความเรื่องนี้แล้วนักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้าง 
  • จงสรุปแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด 
  • จงสรุปขั้นตอนการทำผ้าบาติค 

      2.6) คำถามเพื่อให้ประเมินและเลือกทางเลือก เป็นการใช้คำถามที่ให้ผู้เรียนเปรียบเทียบหรือใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่หลากหลาย ตัวอย่างคำถามเช่น 

  • การว่ายน้ำกับการวิ่งเหยาะ อย่างไหนเป็นการออกกำลังกายที่ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด 
  • ระหว่างน้ำอัดลมกับนมอย่างไหนมีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่ากัน เพราะเหตุใด 
  • ดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว ดินชนิดใดเหมาะแก่การปลูกมะม่วงมากกว่ากันเพราะเหตุใด 
  • ไก่ทอดกับสลัดไก่ นักเรียนจะเลือกรับประทานอาหารชนิดใด เพราะเหตุใด 

      2.7) คำถามให้ประยุกต์ เป็นการถามให้ผู้เรียนใช้พื้นฐานความรู้เดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่หรือในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างคำถามเช่น

  • นักเรียนมีวิธีการประหยัดพลังงานอย่างไรบ้าง 
  • เมื่อนักเรียนเห็นเพื่อนในห้องขาแพลง นักเรียนจะทำการปฐมพยาบาลอย่างไร 
  • นักเรียนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง 
  • นักเรียนจะทำการส่งข้อความผ่านทางอีเมลล์ได้อย่างไร 


        2.8) คำถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ เป็นลักษณะการถามให้ผู้เรียนคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำกับผู้อื่นหรือที่มีอยู่แล้ว ตัวอย่างคำถามเช่น

  • กระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้ว สามารถนำไปประดิษฐ์ของเล่นอะไรได้บ้าง 
  • กล่องหรือลังไม้เก่า ๆ สามารถดัดแปลงกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร 
  • เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว นักเรียนจะนำไปดัดแปลงเป็นสิ่งใดเพื่อให้เกิดประโยชน์ 
  • นักเรียนจะนำกระดาษที่ใช้เพียงหน้าเดียวมาประดิษฐ์เป็นสิ่งใดบ้าง 

           การตั้งคำถามระดับสูงจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดระดับสูง และเป็นคนมีเหตุผล ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำความรู้ ข้อเท็จจริงได้อย่างเดียวแต่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ และประเมินสิ่งที่ถามได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องราวที่เรียนได้อย่างถูกต้องและกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามด้วยตนเอง

          การตอบคำถามระดับสูง ผู้สอนต้องให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบเป็นเวลามากกว่าการตอบคำถามระดับพื้นฐาน เพราะผู้เรียนต้องใช้เวลาในการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งและมีวิจารณญาณในการตอบคำถาม ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของการตั้งคำถามคือ การถามแล้วต้องการคำตอบในทันทีโดยไม่ให้เวลาผู้เรียนในการคิดหาคำตอบ

การสร้างผลงานด้วยวิดีโอ

การสร้างผลงานด้วยวิดีโอ


                   การสร้างวิดีโอด้วยตนเองการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยวิดีโอสามารถทำได้ง่ายหากทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจการสอนใช้โปรแกรมการสร้างผลงานในรูปแบบวิดีโอ เช่น วิดีโอสอนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอการสอนสำหรับครู วิดีโอนำเสนอผลงาน Presentation วิดีโอWedding วิดีโอหนังสั้นภาพยนตร์ ซึ่งโปรแกรมที่สามารถใช้สร้างวิดีโอในปัจจุบันมีความหลากหลายให้ผู้ใช้งานเลือกใช้เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งการสร้างงานด้วยวิดีโอมีหลากหลายประเภท เราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมและความต้องการที่จะให้ผลงานที่สร้างด้วยวิดีโอออกมาในรูปแบบลักษณะใด 

                   การสร้างงานวิดีโอ แบ่งเป็น 2 ประเภท

               1.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึก ภาพเหตุการณ์ แสง สี เสียง จากสถานที่จริง ซึ่งอุปกรณืที่ใช้ทำการบันทึกวิดีโอประเภทนี้ คือ กล้องวิดีโอ แล้วสามารถนำมาตัดต่อภาพและเสียง ด้วยโปแกรมสร้างงานวิดีโอ เพื่อให้วิดีที่บันทึกมีความสมบรูณ์ ไร้ความผิดพลาดขณะทำการถ่ายทำ โปรแกรมที่นิยมใช้สำหรับงานประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio โปรแกรม Adobe Premiere Pro CS โปรแกรม Sony Vegus

               2.การสร้างงานวิดีโอจากการบันทึกทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นการสร้างงานวิดีโอประเภทสื่อการสอนมัลติมีเดีย ใช้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI การสร้างงานวิดีโอชนิดนี้จะมีลักษณะการทำงานโดยการบันทึกภาพและเสียงขณะทำการสอนบรรยายผ่านทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เช่นการสอนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Step by Step การสอนโดยนำเสนอทาง Powerpoint โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ hypercam , camtasia เป็นต้น  การใช้งานลักษณะนี้เหมาะสำหรับการทำบทเรียน การสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หากเป็นการผลิตวิดีโอสอนใช้งานโปรแกรมใดๆ ก็สามารถต่อไมโครโฟน เปิดโปรแกรมจับภาพเป็นวิดีโอ และโปรแกรมที่ต้องการสอน แล้วทำการบันทึกวิดีโอได้ทันที



                  การสร้างวิดีโอด้วยการจับภาพหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีคำแนะนำดังนี้

               1. การอธิบายแต่ละส่วน ให้ทิ้งระยะห่าง ให้ผู้เรียนได้มีเวลาหยุดพัก และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรานำเสนอในวิดีโอ

              2. การเลื่อนเมาส์ ต้องเคลื่อนช้าๆ และเป็นเส้นตรง หรือเคลื่อนในแนวเฉียง ห้ามลากเมาส์สะบัดไปมา คนดูอาจรำคาญได้

              3. การใช้เพลงบรรเลงประกอบ ขณะบันทึกเสียงจะช่วยให้วิดีโอดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

          กรณีที่เป็นเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อาจจะเตรียมสิ่งที่ต้องการสอนหรือนำเสนอ ทำเป็นไฟล์งานนำเสนอด้วย PowerPoint แล้วใช้โปรแกรมประเภทนี้จับภาพอีกทีก็ได้ เพราะเราสามารถพูดบรรยายไปตามหัวข้อที่จัดเรียงไว้ได้ตามต้องการ


โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอจากหน้าจอคอมพิวเตอร์
              
             ลักษณะของไฟล์วิดีโอที่ได้จากการบันทึกจากกล้องวิดีโอ และการบันทึกผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์มีการทำงานที่ต่างกัน โดยปกติแล้วหากเป็นการบันทึกวิดีโอจากเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะใช้กล้องวิดีโอในการบันทึก หรือใช้โทรศัพท์มือถือในการบันทึกคลิปวิดีโอขนาดสั้น สำหรับการบันทึกวิดีโอผ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานลักษณะแบบนี้เป็นการบันทึกวิดีโอจากโทรทัศน์โดยการแปลงสัญญาณโทรทัศน์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำการบันทึกโดยใช้โปรแกรมช่วยในการบันทึกวิดีโอ โปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ โปรแกรม Ulead Video Studio 11  หรือจะเป็นการบันทึกไฟล์วิดีโอสดขณะทำการบรรยายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้บันทึกวิดีโอลักษณะนี้คือ โปรแกรม Camtasia Studio  เป็นต้น
              การใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอเพื่อให้ผลงานจากวิดีโอ มีความสมบรูณ์ โดยมีภาพและเสียงที่ชัดเจน การใช้งานของโปรแกรมประเภทการตัดต่อภาพวิดีโอ ใช้เพื่อแก้ไขลักษณะของงานวิดีโอที่บกพร่อง โดยการตัดส่วนที่เสียหายออก เพื่อให้ไฟล์วิดีโอที่จะนำไปใช้งานมีความสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาดจากการบันทึกวิดีโอ ซึ่งแน่นอนว่าการบันทึกวิดีโอสดย่อมเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ที่ทุกคนไม่คาดคิด ดังนั้นการจะทำให้วิดีโอออกมาสมบรูณ์ไร้ข้อผิดพลาด จำเป็นต้องใช้โปรแกรมช่วยในการตัดต่อวิดีโอ ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ได้แก่ Ulead video studio , Sony Vegas Adobe , Premiere Pro CS เป็นต้น เมื่อเราทำการตัดต่อวิดีโอได้สมบรูณ์แล้ว เรายังสามารถจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบต่างๆได้ เช่น AVI , MPEG , WMV ฯลฯ ตามความพอใจของผู้ใช้งาน


การใช้โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ
            โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอ หรือโปรแกรมที่เปลี่ยนสกุลไฟล์ต้นฉบับให้สามารถเป็นสกุลไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ต้องการ เช่น MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI ซึ่งไฟล์สกุลเหล่านี้ เป็นไฟล์ภาพเคลื่อนไหว หรือเป็นกลุ่มของสกุลไฟล์วิดีโอ สาเหตุที่มีสกุลไฟล์ที่ต่างกันเพราะ ไฟล์วิดีโอต่างๆจะมีคุณภาพ หรือความละเอียดของภาพวิดีโอที่ต่างกัน อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเลือกใช้ให้เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้เปิดไฟล์ เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิดีโอ เป็นต้น โปรแกรมแปลงไฟล์วิดีโอที่ผู้เขียนแนะนำ คือ โปรแกรม Ulead Video Studio 11 เพราะมีไฟล์ Format ให้เลือกใช้หลายไฟล์  ได้แก่  MPEG , MOV , WMV , MP4 , AVI , MP3 , WAV , 3gp ,และอื่นๆเป็นต้น
โปรแกรมสำหรับดูวิดีโอ
            ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายที่สามารถเปิดดูไฟล์ประเภทวิดีโอได้ แต่โปรแกรมพื้นฐานที่สามารถดูไฟล์วิดีโอได้ และเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีอยู่แล้วคือโปรแกรม  Windows Media  Player  นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมอื่นๆที่หน้าสนใจ เช่น KMPlayer , Media Player Classic , GOM Player , CyberLink PowerDVD , Winamp  ฯลฯ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างวิดีโอ
            การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการสร้างวิดีโอ ควรเลือกเครื่องที่เสป็คต้องแรง ซีพียูความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูง เพราะการจัดการกับไฟล์วิดีโอที่มีขนาดใหญ่ หากใช้เครื่องที่เสป็คต่ำ การตัดต่อวิดีโอจะช้ามาก การเลือกคอมพิวเตอร์ที่เป็นโน้ตบุ๊คก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องพิจารณาเสป็คเครื่องเช่นกัน ความเร็วซีพียู แรม ความจุของฮาร์ดดิสก์ต้องสูงๆ สิ่งสำคัญมากๆ อย่างหนึ่งก็คือการ์ดเสียง เมื่ออัดเสียงต้องไม่มีเสียงรบกวน หรือมีน้อยที่สุุด ไม่เช่นนั้นก็ต้องซื้อหามิกเซอร์มาใช้งาน ภาพคอมพิวเตอร์สำหรับสร้างวิดีโอ ไมโครโฟนและมิกเซอร์ขนาดเล็กก็เพียงพอแล้ว กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้เช่นกัน การเลือกซื้อแนะนำให้เลือกรุ่นที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว และการถ่ายวิดีโอนั้น ต้องพยายามให้มือนิ่งที่สุดการเคลื่อนไหว ต้องเป็นเส้นตรง เพื่อไม่ให้ภาพสั่นเวลาถ่ายภาพอุปกรณ์สำคัญๆ สำหรับสร้างวิดีโอช่วยสอน เช่น คอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมสำหรับสร้างวิดีโอ มีไมโครโฟน กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีโอ เป็นต้น