วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

มาตรฐานของวิดีโอแบบต่าง ๆ

มาตรฐานของวิดีโอแบบต่าง ๆ
มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 4  รูปแบบ  คือ   VCD ,  SVCD    DVD และ BD  ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้ 
VCD   ( Video  Compact  Disc )
VCD  เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล   ความจุของแผ่น  VCD  โดยปกติจะอยู่ที่  74/80  นาทีหรือประมาณ  650/700  เมกกะไบต์   โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 1  มีความละเอียดของภาพอยู่ที่  352 x 288  พิกเซลในระบบ  PAL  และ  352 x 240  พิกเซลในระบบ  NTSC   คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป  VHS  ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์    และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD  ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น  CD-R  ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว   และแผ่น  CD-RW  ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้   แต่แผ่น  CD-RW  มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น  VCD  หลายๆ รุ่น
SVCD  ( Super  Video  Compact  Disc )SVCD   เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ  VCD  แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า   โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ  MPEG – 2  จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ  PAL  และ  480 x 480  พิกเซลในระบบ NTSC   ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น  VCD  หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้   โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น  DVD หรือ  VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก  CD – ROM  จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
DVD  ( Digital  Versatile  Disc )DVD  เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ  VCD  หลายเท่าตัว  โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่  720 x 480   พิกเซลในระบบ  PAL  และ  720 x 576  พิกเซลในระบบ  NTSC   โดยมาตรฐานของแผ่น  DVD  ก็มีหลายประเภท  เช่น  DVD + R/RW ,  DVD – R/RW ,  DVD + RDL  และ  DVD + RAM  ซึ่งความจุของแผ่น  DVD  ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น  โดยมีตั้งแต่  4.7   กิกะไบต์ไปจนถึง  17  กิกะไบต์   ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย    ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท  DVD  คงจะเข้ามาแทนที่ VCD  ได้ในไม่ช้า
BD ( Blu-ray Disc )มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB ความจุของบลูเรย์ดิสค์ ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ
อ้างอิงhttp://www.guycomputer.com/mean/picturefile.htm 
http://www.yupparaj.ac.th/CAI/graphic/type.html 
http://www.ceted.org/cet_media/detail.php?mode=Knowledge&pid=185 
http://forum.thaidvd.net/lofiversion/index.php/t814-1100.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น